เช็คก่อน สัญญาณอาการระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปรกติ พร้อมวิธีเสริมร้างเพื่อร่างกายที่แข็งแรงรับมือโรคภัยไข้เจ็บ - Mixmaya.Com
  • Home
  • healthy
  • เช็คก่อน สัญญาณอาการระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปรกติ พร้อมวิธีเสริมร้างเพื่อร่างกายที่แข็งแรงรับมือโรคภัยไข้เจ็บ
เช็คก่อน สัญญาณอาการระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปรกติ  พร้อมวิธีเสริมร้างเพื่อร่างกายที่แข็งแรงรับมือโรคภัยไข้เจ็บ

เช็คก่อน สัญญาณอาการระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปรกติ พร้อมวิธีเสริมร้างเพื่อร่างกายที่แข็งแรงรับมือโรคภัยไข้เจ็บ

ในยุคที่เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บและมลภาวะที่อาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วย ระบบภูมิคุ้มกันโรค (Immune System) เป็นกลไกการทำงานของร่างกายเสมือนปราการด่านแรกในการต้านโรคภัยไข้เจ็บและป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ หรือเมื่อหลุดเข้ามาแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันก็จะพยายามทำลายกำจัดสิ่งแปลกปลอม โดยเร็วและอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อร่างกายเกิดติดเชื้อหรือได้รับเชื้อโรคโดยตรง  ระบบภูมิคุ้มกันจะผลิตโปรตีนที่ชื่อ แอนติบอดี (Antibodies) มีฤทธิ์ในการต้านพิษ ทำให้ผู้ป่วยแม้จะเกิดอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ  ระบบภูมิคุ้มกันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1 ใหญ่ ๆ คือ

 

ภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด (Innate หรือ natural immunity) หรือเป็นการป้องกันที่ผิวหนังหรือเยื่อบุต่างๆ ได้แก่ กลไกทาง กายภาพ กลไกทางเคมี และกลไกทางพันธุกรรม เช่น ผิวหนัง เยื่อบุผิว กระเพาะอาหาร น้ำตา น้ำลาย ระบบขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ และเหงื่อ หากสิ่งแปลกปลอมหลุดรอดผ่านไปได้  ระบบภูมิคุ้มกันจะทำปฏิกิริยาทางเคมีระดับเซลล์ เช่น เม็ดเลือดขาว จะเกิดกระบวนการจับกินเชื้อโรค (Phagocytosis) หรือ เคลื่อนย้ายเม็ดเลือดขาว Neutrophilic granulocyte (phagocyte) ท าให้เกิดอาการอักเสบ (Phagocytosis) หรือ ปวด บวม แดง ร้อน

ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ(Adaptive or Acquired Immunity) ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับสิ่งแปลกปลอม ในกรณีการป้องกันทั้งสองชั้นไม่สามารถกีดกันเชื้อโรคได้ ร่างกายจะตอบสนองต่อเชื้อโรคอย่างจำเพาะเจาะจงผ่านเม็ดเลือดขาว โดยเซลล์ B lymphocyte จะสร้าง Antibody และ T lymphocyte สร้าง T cells ที่สามารถสร้างการตอบสนองที่หลากหลายทั้งต่อเชื้อในเซลล์และนอกเซลล์ ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะสามารถจดจำเชื้อโรคได้ ทำให้การตอบสนองต่อครั้งหลังรวดเร็ว มีประสิทธิภาพดีและมีปริมาณมากกว่าการตอบสนองในครั้งแรก

 

บางคนแข็งแรงนาน ๆ จะป่วยสักครั้ง ขณะที่บางคนป่วยง่าย เนื่องจากภูมิคุ้มกันของคนมีความแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามไลฟไสตล์ที่ไม่เหมาะสมก็อาจทำลายภูมิคุ้มกันได้ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย ความเครียดสะสม  และรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่นน้ำตาล และรับประทานผักและผลไม้น้อยทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุและวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง 

 

เช็คก่อน จับสังเกต 4 อาการโรคที่ดูเหมือนไม่ร้ายแรง อาจเป็นสัญญาณของโรคร้าย จากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ

อาการอักเสบรุนแรงของข้อโดยเฉพาะข้อนิ้วมือและข้อนิ้วเท้า ข้อฝืดตึงตอนเช้านานกว่า 1 ชั่วโมง อาจเป็นสัญญาณโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของการควบคุมภูมิคุ้มกันของร่างกาย(autoimmune disease) หากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลให้ข้อถูกทําลายและเกิดความพิการ หรือระบบภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ หนึ่งในโรคนั้นคือโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าโรคพุ่มพวง

ผิวหนังมีลักษณะแดง ตกสะเก็ดเป็นขุยสีขาว เป็นผื่นแดงนูน เกิดการอักเสบของผิว ผิวแห้งมากจนแตกและมีเลือดออก หนังศีรษะลอกเป็นขุย เล็บมือและเท้าหนาขึ้น มีรอยบุ๋ม ผิดรูปทรง ปวดข้อต่อและมีอาการบวมตามข้อต่อ และยังทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บ คัน หรือรู้สึกแสบร้อนบริเวณผิวหนัง ซึ่งรู้จักกันในชื่อ โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) จัดเป็นโรคไม่ติดต่อ

ปวดหลังช่วงล่างและสะโพกร่วมกับอาการหลังตึงหรือรู้สึกยึดติดในบริเวณดังกล่าว เรื้อรังนานร่วมเดือนหรือเป็นปี อาจรู้สึกปวดหรือมีอาการข้อติดบริเวณอื่นร่วมด้วย เช่น หลัง ก้น ข้อต่อไหล่ ข้อต่อระหว่างฐานกระดูกสันหลังกับกระดูกเชิงกราน บางรายมีอาการตาอักเสบเป็นๆหายๆ อยู่บ่อยครั้ง สัญญาณเบื้องต้นของโรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด (AS: Ankylosing Spondylitis) เกิดจากการระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีความผิดปกติในการแยกแยะเนื้อเยื่อของร่างกายกับสิ่งแปลกปลอมอื่น เป็นโรคที่พบในคุณผู้ชายมากกว่าคุณผู้หญิงประมาณ 3 เท่า และเกิดในช่วงอายุระหว่าง 15-30 ปี โรคนี้มีอุบัติการณ์ต่ำ คนรู้จักโรคนี้ไม่มากนัก ทำให้ได้รับการรักษาล่าช้า  

อาการปวดท้อง ท้องร่วง ถ่ายมีเลือดและมูกปน ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง สัญญาณโรคระบบทางเดินอาหารอักเสบ (Inflammatory Bowel Disease: IBD) เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันเห็นว่าอาหาร แบคทีเรียและไวรัสที่ไม่เป็นอันตรายที่อยู่ภายในลําไส้เป็นสิ่งแปลกปลอมและพยายามจำกัดออก เกิดอาการอักเสบเรื้อรัง 

 

จะเห็นได้ว่าโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันนั้นมีความหลากหลายของอาการมากกว่าที่เราคิด ไหนจะส่งผลต่อการอักเสบตามข้อต่อ ความผิดปกติที่ผิวหนัง การอักเสบของกระดูกสันหลังที่นำมาซึ่งความพิการ รวมไปถึงอาการปวดท้องเรื้อรัง โรคต่างๆเหล่านี้น้อยคนนักจะรู้ถึงต้นตอโรคว่ามาจากระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้บ่อยครั้งมีการวินิจฉัยที่คาดเคลื่อนและได้รับการรักษาล่าช้า เพราะฉะนั้นหากถูกวินิจฉัยได้เร็วเท่าไร โอกาสในการรักษาหายเป็นปกติก็มีเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น ลดความทรมานและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

 

สมัยนี้เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการรักษามีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ประกอบกับมีคุณหมอเก่งๆ หลายท่าน ที่พร้อมให้การรักษา ดังที่เราได้รวบรวมรายชื่อมาให้ ดังต่อไปนี้ 

 

อ้างอิง 1: ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค:นพ.ชนินันท์ สนธิไชยและคณะ 18 เมษายน 2563

 

Comments

healthy

VDO Update

Merigin

Related Post