ดีพร้อม DIPROM ผลักดัน Soft Power แฟชั่นไทย ปั้นดีไซเนอร์ สานฝันหัตถกรรมสิ่งทอไทย พัฒนาสินค้าชุมชนต้นแบบสู่สากล - Mixmaya.Com
  • Home
  • pr
  • ดีพร้อม DIPROM ผลักดัน Soft Power แฟชั่นไทย ปั้นดีไซเนอร์ สานฝันหัตถกรรมสิ่งทอไทย พัฒนาสินค้าชุมชนต้นแบบสู่สากล
ดีพร้อม DIPROM ผลักดัน Soft Power แฟชั่นไทย ปั้นดีไซเนอร์ สานฝันหัตถกรรมสิ่งทอไทย พัฒนาสินค้าชุมชนต้นแบบสู่สากล

ดีพร้อม DIPROM ผลักดัน Soft Power แฟชั่นไทย ปั้นดีไซเนอร์ สานฝันหัตถกรรมสิ่งทอไทย พัฒนาสินค้าชุมชนต้นแบบสู่สากล

“ดีพร้อม”ผลักดัน Soft Power แฟชั่นไทย ปั้นดีไซเนอร์ สานฝันหัตถกรรมสิ่งทอไทย พัฒนาสินค้าชุมชนต้นแบบสู่สากล

 

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) หรือ ดีพร้อม ผลักดันซอฟพาวเวอร์อุตสาหกรรมแฟชั่น เดินหน้าเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แฟชั่นและหัตถกรรมสิ่งทอระหว่างนักออกแบบไทยและนักออกแบบต่างประเทศ เพื่อพัฒนาสินค้าและยกระดับหัตถกรรมสิ่งทอไทย ตามนโยบาย ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้ มุ่งให้ทักษะ พัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่นให้รู้รับปรับตัว (Resilience) ต่อความท้าทายใหม่ ดึงนักออกแบบทั้งไทยและต่างประเทศร่วมสร้างผลงานร่วมสมัยจากทุนทางวัฒนธรรม เสริมศักยภาพวิสาหกิจชุมชน สู่การเป็นชุมชนต้นแบบในการผลิตสินค้าหัตถกรรมสิ่งทอคุณภาพสูง คาดเพิ่มรายได้ เพิ่มยอดขายดันสินค้าหัตถกรรมสิ่งทอไทยขายโอกาสสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน

 

นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เดินหน้าขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศไทยผ่านกิจกรรมการพัฒนาหัตถกรรมสิ่งทอไทยระหว่างนักออกแบบไทยและนักออกแบบต่างประเทศ ตามนโยบาย ดีพร้อม คอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้ โดยมีเป้าหมายหลักในการเสริมสร้างขีดความสามารถและเพิ่มทักษะนักออกแบบอุตสาหกรรมแฟชั่น เพื่อให้สามารถปรับตัวและแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับโลก โดยงานหัตถกรรมผ้าไทยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2567 จำนวนกว่า 4,606 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.23 ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อหวังกระตุ้นการพัฒนาและยกระดับสินค้ากลุ่มหัตถกรรมสิ่งทอ เช่น ผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ทอจากฝ้าย ไหม กัญชง หรือใยธรรมชาติอื่น ๆ ที่ทอมือ

 

กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การนำของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักออกแบบในอุตสาหกรรมแฟชั่น โดยมุ่งเน้นทั้งด้านองค์ความรู้ ทักษะ นวัตกรรม และความเข้าใจตลาดโลก ซึ่งไม่เพียงช่วยยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการเท่านั้น แต่ยังเป็นการต่อยอด Soft Power ของไทย ผ่านการนำเสนออัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และคุณค่าทางวัฒนธรรมเชื่อมโยงนักออกแบบสู่การพัฒนาหัตถกรรมสิ่งทอไทยให้มีมูลค่า มีความสวยงาม มีนวัตกรรมใหม่ๆที่ทันสมัย ส่งออกความเป็นไทย ผ่านหัตถกรรมสิ่งทอไทยที่มีความประณีต งดงาม มีมูลค่าไม่แพ้ชาติใดในโลก จึงมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ไทยในอุตสาหกรรมแฟชั่น เพื่อผลักดันให้ไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำในการผลิตหัตถกรรมสิ่งทอคุณภาพสูงสู่ตลาดสากล

 

นางดวงดาว กล่าวต่อว่า ดีพร้อม ได้ขานรับนโยบายดังกล่าว ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ไทยด้านอุตสาหกรรมแฟชั่น ผ่านกิจกรรมการพัฒนาหัตถกรรมสิ่งทอไทยระหว่างนักออกแบบไทยและนักออกแบบต่างประเทศ ภายใต้โครงการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แฟชั่นและหัตถกรรมสิ่งทอระหว่างประเทศ (Reinvented Roots, Resilient Futures) เพื่อพัฒนาเสริมทักษะและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักออกแบบในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ มุ่งหวังผลักดันผลิตภัณฑ์หัตถกรรมสิ่งทอไทยในชุมชน ให้สามารถพัฒนาเป็นสินค้าแฟชั่นที่มีมูลค่าสูง และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการสร้าง Soft Power DNA ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่เน้นการผสมผสานอัตลักษณ์กับความคิดสร้างสรรค์ พร้อมเผยแพร่ผลงานผ่านเวทีระดับนานาชาติ มุ่งหวังสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงระหว่างนักออกแบบไทยและนักออกแบบจากต่างประเทศ

 

กิจกรรมนี้ได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการระหว่างนักออกแบบไทยและต่างประเทศ

พร้อมจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ชุมชนต้นแบบ เพื่อเปิดพื้นที่ให้นักออกแบบรุ่นใหม่ได้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้อย่างเข้มข้น เพื่อพัฒนาสนับสนุนชุมชน และร่วมกันตีความทุนวัฒนธรรมไทยในมิติใหม่ ผ่านการออกแบบที่ร่วมสมัย สร้างผลิตภัณฑ์คอลเลกชันใหม่ให้ชุมชนต้นแบบที่ตอบโจทย์ตลาดสากล เป้าหมายคาดว่าจะสามารถพัฒนาศักยภาพของนักออกแบบในสาขาอุตสาหกรรมแฟชั่นไม่น้อยกว่า 100 คน สามารถต่อยอดทุนวัฒนธรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าในชุมชนต้นแบบได้ไม่น้อยกว่า 4 ชุมชน พัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอชุมชน รวม 12 คอลเลกชันและส่งเสริม Soft Power แฟชั่นไทยผ่านหัตถกรรมสิ่งทอไทยสู่ระดับสากล กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เชื่อมั่นว่ากิจกรรมนี้จะเป็นเวทีสำคัญในการสร้างแรงบันดาลใจ สร้างเครือข่าย และนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ ๆ ในวงการหัตถกรรมสิ่งทอไทย เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่มีเอกลักษณ์ และสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดโลกได้

 

กิจกรรมที่น่าสนใจภายในงานประกอบด้วย Keynote Speaker หัวข้อ "Elevating Thai Soft Power on the world platform" โดย Jayne Simone Esteve Curé ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจแฟชั่น จากฝรั่งเศส และการเสวนา “มุมมองของนักออกแบบไทยในการต่อยอดทุนวัฒนธรรมไทยสู่สากล” โดยนักออกแบบไทย คุณวิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ (แบรนด์ WISHULADA) คุณเฉลิมเกียรติ คติเกษมเลิศ (แบรนด์ WONDER ANATOMIE) และคุณสินชัย เอื้ออัครวงษ์ (แบรนด์ IRIS MONTINI & SPACE ME) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และมุมมอง สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาหัตถกรรมสิ่งทอไทยระหว่างนักออกแบบไทยและนักออกแบบต่างประเทศ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวทิ้งท้าย

 

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2430 6873 ต่อ 2 หรือติดตามความเคลื่อนไหวและข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่ www.diprom.go.th และ www.facebook.com/dipromindustry

 

Comments

pr

VDO Update

Merigin

Related Post